ภาวะน้ำวุ้นตาเสื่อม อันตรายหรือไม่

น้ำวุ้นตาเสื่อมคืออะไร
น้ำวุ้นตา เป็นของเหลว ที่อยู่ในลูกตาส่วนหลังของคนเรา ก่อนที่เราเกิด น้ำวุ้นตาทำหน้าที่พยุงโครงสร้างให้ดวงตาเป็นรูปเป็นร่างและให้อาหารแก่ลูกตา โตขึ้นมาตอนหนุ่มสาวน้ำวุ้นตาจะมีลักษณะเหลวคล้ายเจลและมีบางส่วนที่ยึดติดแน่นกับจอประสาทตา
พออายุมากขึ้น น้ำวุ้นตาก็จะกลายเป็นของเหลว (liquefy) ทำให้เกิดอาการเห็นจุดดำลอยไปมา บางคนก็เห็นเป็นวงกลม บางคนก็เห็นเหมือนตัวยุง บางคนก็เห็นเป็นเส้นสีดำ ซึ่งภาวะเหล่านี้เรียกว่า Floasters
ระยะสุดท้ายของการเสื่อมของน้ำวุ้นตาจะทำให้ หลุดลอกจากจอประสาทตาเรียกภาวะนี้ว่า Posterior vitreous degeneration (PVD)
สาเหตุของน้ำวุ้นตาเสื่อม
ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะพบภาวะนี้ได้บ่อย แต่อย่างไรก็ตามสามารถพบในคนอายุน้อยได้ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้นดังต่อไปนี้
หลังผ่าตัดต้อกระจก
สายตาสั้น
อุบัติเหตุทางตา
รักษาอย่างไร
ส่วนใหญ่แล้วภาวะน้ำวุ้นตาเสื่อม จะไม่มีผลต่อการมองเห็นแต่จะทำให้เกิดความรำคาญได้ ไม่มีการจะผ่าตัดเอาน้ำวุ้นตาเสื่อมออก ยกเว้นจะเกิดผลแทรกซ้อนท่ีสำคัญเช่นภาวะจอประสาทตาลอกหลุดเป็นต้น
“ หมอจะแนะนำให้ผู้คนที่เป็นภาวะดังกล่าว พยายามที่จะเรียนรู้ที่ไม่มองมัน แล้วมองรอบ ๆ จุดดำนั้นค่ะ โดยปกติแล้วจุดดำจะอยู่ที่ใกล้ๆกับขั้วประสาทตาและจะมองไม่เห็นเมื่อเวลาผ่านไป ช่วงแรกสมองจะพยายามมองที่จุดดำนั้น แล้วซักพัก ก็เบื่อที่จะมองมันและเริ่มที่จะเพิกเฉย ตามกระบวนการปรับตัวของร่างกาย ซึ่งหลังๆ คนที่มีอาการจะเห็นจุดดำลอยไปลอยมาเห็นเฉพาะเวลาที่จดจ่อกับมัน หรือ มองในพื้นหลังที่ขาวหรือสีสว่าง เช่น เวลามองท้องฟ้าเป็นต้นค่ะ “
อันตรายหรือไม่
ตัวจุดดำ Floaster นั้นไม่อันตราย แต่อาจจะพบร่วมกับภาวะอื่นที่เป็นอันตรายได้เช่น จอประสาทตาฉีกขาด จอประสาทตาลอกหลุด ซึ่งอาการดังกล่าวที่บ่งยว่ามีภาวะอันตราย คือเห็นเหมือนแสงฝ้าแลบ ( Flashing ) และตามมาด้วยอาการตามัวลงทันที
ดังนั้นควรได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์โดยการขยายม่านตาอย่างละเอียดเพื่อหาภาวะ ดังกล่าว